โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จัดงานประชุมวิชาการ เรื่องการเก็บรักษาตัวอย่างเพื่อส่งตรวจที่แลบ
PDF
Print
E-mail
Saturday, 07 July 2012 11:44

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ได้จัดให้มีการประชุมวิชาการ เกี่ยวกับการเก็บและรักษาตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยเพื่อส่งตรวจหาค่าปริมาณน้ำตาล และ บลัดแก๊ส ที่ห้องปฏิบัติการ โดยมี นพ. ฉัตรชัย ศรีนามวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ เป็นประธาน โดยมี แพทย์ พยาบาลและนักเทคนิคการแพทย์เข้าร่วมประชุมกว่าร้อยคน

 

เนื่องจากทางโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ได้ใช้งานเครื่องตรวจบลัดแก๊สของ Radiometer รุ่น ABL5 จำนวน 2 เครื่อง ตั้งอยู่ที่ห้องแลบและไอซียูอายุรกรรม และเพิ่งติดตั้งเครื่อง ABL800 เพิ่มอีก 1 เครื่อง ในห้องแลบ ทางบริษัท เมดิคอล ซายน์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้ คุณอังกุร เอียมสุนทร ผู้เชี่ยวชาญของทางบริษัทฯ ไปร่วมเป็นผู้บรรยายในครั้งนี้ด้วย

 

ปัญหาหลักของการจัดเก็บตัวอย่างเพื่อนำส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาจอยู่ห่างจากหน่วยที่เก็บตัวอย่างค่อนข้างไกล ทำให้ต้องใช้เวลาในการนำส่ง หรือทางหน่วยต้องรอรวบรวมตัวอย่างให้ได้จำนวนหนึ่งก่อนจึงนำส่ง ทำให้ตัวอย่างที่เก็บได้ไม่ได้ถูกตรวจทันที ต้องรอเวลาก่อนนำส่งมากกว่าครึ่งชั่วโมง มักทำให้ผลที่วัด คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะค่า บลัดแก๊ส

คำถามที่เกิดขึ้นเสมอคือ การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยและการรักษาตัวอย่างก่อนส่งตรวจ ควรทำอย่างไรบ้าง ใช้สารกันเลือดแข็งชนิดใด การเจาะเลือดโดยใช้หลอด Capillary มักเจาะได้ไม่เต็มหลอด หรือการเก็บตัวอย่างไว้ในตู้เย็นเพื่อรอส่งเป็นเวลานานกว่าชั่วโมง จะมีผลต่อค่าทีวัดหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือข้อจำกัดต่างๆ ย่อมมีผลต่อค่าที่วัดทั้งสิ้น เช่นสารกันเลือดแข็งควรใช้ Balance heaparin, การเจาะด้วย Capillary ที่ได้ไม่เต็มหลอด ถึงจะวัดได้ แต่ก็มักจะพบความคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะค่า pO2, หรือการเก็บตัวอย่างรอตรวจไว้ในตู้เย็นเกิน 1 ชั่วโมง ค่าที่วัดได้ก็ต้องมีความคลาดเคลื่อนสูง เหล่านี้ เป็นต้น

หากใครพบปัญหาคล้ายๆ กับที่กล่าวมา ก็สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้โดยตรง ตลอดเวลาครับที่ คุณ อังกุร

 

เอี่ยมสุนทร โทร 089 443 4176

 

 

Last Updated on Saturday, 07 July 2012 12:13